ค่านิยมเรื่องแต่งงาน ครอบครัว และการมีบ้าน กำลังเปลี่ยนไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ค่านิยมเรื่องแต่งงาน ครอบครัว และการมีบ้าน กำลังเปลี่ยนไป
หากมีคำถามว่า “การมีครบทุกอย่างในชีวิต สำหรับคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คืออะไรบ้าง” คำตอบที่ได้ อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย Milieu Insight จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากคนกว่า 3,000 คนใน 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ เพื่อทำความเข้าใจมุมมองของคนแต่ละรุ่น ตั้งแต่ Gen Z, Millennials, Gen X ไปจนถึง Baby Boomers เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ ครอบครัว และเป้าหมายชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ตามมาดูกันได้ในบทความนี้
การแต่งงานและมีลูกยังสำคัญ…แต่ไม่ใช่กับทุกคน
แม้คนส่วนใหญ่ยังมองว่าการแต่งงาน (40%) และการมีลูก (31%) เป็นเรื่องที่ “สำคัญ” แต่ก็ไม่จำเป็นสำหรับทุกคน โดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z ที่แสดงมุมมองแบบยืดหยุ่นมากขึ้น เห็นว่าการแต่งงานและมีลูกเป็น “ทางเลือก” มากกว่า “ความจำเป็น”
อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม รวมถึงในกลุ่ม Gen X ยังคงให้ความสำคัญกับครอบครัวในรูปแบบดั้งเดิม โดยกว่าครึ่งเห็นว่าการแต่งงานและมีลูกเป็นสิ่งจำเป็นของชีวิตที่สมบูรณ์ เช่น
- การแต่งงาน อินโดนีเซีย (77%), มาเลเซีย (58%), เวียดนาม (55%)
- การมีลูก อินโดนีเซีย (70%), มาเลเซีย (52%), เวียดนาม (53%)
“ครอบครัว” หมายถึงอะไรในปัจจุบัน?
แม้ค่านิยมจะเปลี่ยนไป แต่โครงสร้างครอบครัวแบบดั้งเดิมก็ยังเป็นคำจำกัดความหลักของคำว่า “ครอบครัว” สำหรับคนส่วนใหญ่ โดย 74% ของผู้ตอบแบบสอบถามยังนิยามแบบนี้อยู่ อย่างไรก็ตาม ในกลุ่ม Gen Z ความเปิดกว้างเริ่มมีมากขึ้น
- Baby Boomers: 92%
- Gen X: 82%
- Millennials: 75%
- Gen Z: 69%
โดยเฉพาะในประเทศอย่างไทยและสิงคโปร์ กลุ่ม Gen Z แสดงความยอมรับต่อครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น เช่น ไทย 39%, สิงคโปร์ 31% (เทียบกับอินโดนีเซียที่มีเพียง 2%)
ชีวิตการงาน vs ครอบครัว จะบาลานซ์ยังไงดี
คนเกือบครึ่งในภูมิภาคนี้ (47%) ต้องการบาลานซ์ทั้งงานและครอบครัว แต่เมื่อดูแยกตามรุ่น จะพบแนวโน้มที่น่าสนใจ:
- Gen Z 24% ให้ความสำคัญกับงานมากกว่าครอบครัว
- Gen X 28% ให้ความสำคัญกับครอบครัวมากกว่า
โดยเวียดนามเป็นประเทศที่เห็นช่องว่างชัดเจนที่สุดระหว่างรุ่น โดย 31% ของ Gen Z เลือก “งานมาก่อน” ขณะที่ 36% ของ Gen X ให้ความสำคัญกับครอบครัวเป็นหลัก
แม้จะต่างกันในมุมมอง แต่ทุกกลุ่มรุ่นกลับเห็นพ้องต้องกันในเรื่อง “อายุที่เหมาะสม” ของหมุดหมายชีวิตหลัก ได้แก่
- แต่งงาน อายุ 27 ปี
- มีลูกคนแรก อายุ 29 ปี
- ซื้อบ้าน อายุ 30 ปี
บ้าน…ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคง
แม้หลายสิ่งจะเปลี่ยนแปลง แต่การมีบ้านเป็นของตัวเองก็ยังคงเป็น “ความฝัน” ของคนส่วนใหญ่ โดย 68% มองว่าการมีบ้านคือจุดหมายแห่งความสำเร็จและความมั่นคงในชีวิต
ปัจจัยหลักที่ใช้เลือกทำเลบ้าน
- ความปลอดภัย (51%)
- ราคาเอื้อมถึง (40%)
- สิ่งอำนวยความสะดวก (33%)
แต่ในบางประเทศก็มีความแตกต่าง เช่น
- สิงคโปร์: ให้ความสำคัญกับ “ราคาบ้าน” มากที่สุด (61%)
- เวียดนาม: ให้ความสำคัญกับ “สังคมและเพื่อนบ้าน” มากที่สุด (53%)
บทสรุป
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนค่านิยมดั้งเดิมเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวไปสู่รูปแบบที่เปิดกว้างและหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z ที่พร้อมจะกำหนดชีวิตในแบบของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแต่งงาน การมีลูก หรือการมีบ้าน ในขณะที่บางประเทศยังคงรักษารูปแบบความเชื่อเดิม ๆ เอาไว้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ก็คือ ภูมิภาคนี้กำลังก้าวเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านของความหมายคำว่า “ชีวิตที่สมบูรณ์แบบ” ในแบบฉบับของคนรุ่นใหม่
Milieu เป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์ Online survey และ Market research จากสิงคโปร์ ที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ด้วยเทคนิคการทำ Sampling ที่มีประสิทธิภาพ ติดตาม กลยุทธ์แบบ Data-driven พร้อมอัปเดตงานวิจัย และ Insight ล่าสุดจากทีมผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลยที่นี่